02/06/2017

"ข้อตกลงการใช้บริการ" ที่ดี ควรออกแบบหน้าจออย่างไร??

ท่านที่เคยสมัครใช้บริการต่างๆ บนเว็บไซต์หรือติดตั้งซอฟแวร์มักจะเจอ "ข้อตกลงการใช้บริการ" หรือ "ข้อกำหนด" ที่ยืดยาวชวนเวียนหัว แล้วก็กดตกลง หรือกดยอมรับ หรือติ๊กเครื่องหมาย หรือกดสมัคร โดยที่ไม่ได้อ่านเนื้อหาข้างในเลย แต่รู้หรือไม่ ข้อตกลงการใช้บริการ ที่เราเลื่อนข้ามไปไม่อ่านนั้น เป็นสัญญาประเภทหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรากดตกลงหรือยอมรับไปแล้ว ก็ถือว่าเราได้ตกลงยอมผูกพันตามข้อตกลงนั้นแล้ว

ทีนี้ก็มีปัญหาเรื่องของการบังคับใช้ได้ตามข้อตกลงการใช้บริการว่า เฮ้ย!! เราไม่ได้อ่าน เราไม่ได้ตกลงยินยอมด้วย เราไม่รู้ เราไม่เห็นจะมีข้อตกลงที่ว่านี้เลย มันอยู่ตรงไหน เราไม่ยอมรับ ไม่ยอมผูกพันด้วยหรอก แกเอาข้อมูลเราไปขายได้ไง แกเอารูปเราไปใช้ได้ไง ก็เกิดโต้เถียงกันถึงขนาดเป็นคดีความกันในต่างประเทศ

การออกแบบหน้าจอ "ข้อตกลงการใช้บริการ" ของผู้ให้บริการนั้น ส่วนใหญ่มี 3 แบบ คือ

1. แบบที่มีปุ่มตกลงอยู่ท้ายข้อความข้อตกลง (Clickwrap) หรือ


2. แบบที่เป็นเพียงลิงค์ไปหน้าที่มีข้อความข้อตกลง (Browsewrap) หรือ


3. ทั้ง 1 และ 2 ผสมกัน (Hybrid)

ทีนี้ก็ไปดูข้อโต้แย้งของผู้ใช้ที่มักจะอ้างว่า ฉันไม่เห็นข้อตกลงนี้เลยมันอยู่ตรงไหน ฉันกดตกลงไปฉันไม่ได้อ่าน ก็มีบทความที่เขาแนะนำว่าควรออกแบบหน้าจอข้อตกลงอย่างไรให้สามารถใช้บังคับได้ ซึ่งเขาบอกว่า
1. ควรมี check-box ที่มีข้อความประมานว่า หากคุณกดที่ช่องนี้แล้วถือว่าคุณได้อ่านข้อตกลงการใช้บริการแล้ว
2. ให้มีกล่องข้อความที่มีเนื้อหาของข้อตกลงปรากฏอยู่ข้างๆ check-box  หรือมีลิ้งค์ไปหน้าข้อตกลง
3. หากผู้ใช้ไม่กด check-box ก็จะไม่ให้ผู้ใช้ผ่านไปสู่ในขั้นตอนต่อไป
4. ลิ้งค์ที่ไปยังหน้าข้อตกลงการใช้บริการ ควรทำให้เห็นได้ชัด เช่น ขีดเส้นใต้ ใช้สี ตัวหนา
5. ควรทำให้เนื้อหาของข้อตกลงการใช้บริการอ่านง่าย ใช้แบบอักษรที่อ่านง่าย
6. ควรมีลิ้งค์ไปยังหน้าข้อตกลงการใช้บริการในทุกๆ หน้าจอ
7. เนื้อหาของข้อตกลงควรมีข้อความที่สามารถนำไปบังคับใช้ได้



No comments:

Post a Comment